เปรียบเทียบ 3 ประเภทพื้นไม้จริงยอดนิยม จุดเด่น-จุดอ่อนและการใช้งานที่เหมาะสม
ไม่ว่าเวลาจะผ่านมายาวนานเท่าไหร่และจะมีวัสดุไม้ปูพื้นประเภทอื่นมาทดแทนอย่างไร ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘พื้นไม้จริง’ ก็ยังคงเป็นวัสดุไม้ปูพื้นในฝันของใครหลายคน ด้วยความแข็งแรงทนทานและลวดลายธรรมชาติจริงอันสวยงามที่แม้ไม้เทียมคุณภาพสูงอยากจะลอกเลียน ก็ไม่อาจทำได้ ‘พื้นไม้จริง’ จึงยังถือเป็นตัวเลือกวัสดุไม้ปูพื้นอันดับแรก ๆ ของผู้ที่อยากเพิ่มกลิ่นอายงานไม้และความอบอุ่นให้กับอาคารหรือที่พักอาศัยของตนเอง ทว่าเมื่อไม้จริงแต่ละชนิดย่อมมีคุณสมบัติและการใช้งานแตกต่างกัน จะมีวิธีการเลือกชนิดที่ใช่อย่างไร ตาม LFURN มาหาคำตอบกันผ่านการเปรียบเทียบคุณสมบัติสำคัญของ 3 ประเภทพื้นไม้จริงยอดนิยม จะมีชนิดและคุณสมบัติใดเข้าตากันบ้าง มาเริ่มกันเลยครับ
‘สัก, ประดู่, แดง’ ทำความรู้จัก 3 ไม้ยอดนิยมของคนรักงานไม้
แม้โดยพื้นฐาน ‘วัสดุไม้จริง’ จะมีให้เลือกสรรรอย่างหลากหลาย อาทิ ไม้เต็ง, ไม้มะค่า, ไม้รัง ฯลฯ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าชนิดที่ผู้คนมักนิยมนำมาปูพื้นมากที่สุดก็คือ 3 ชนิดไม้อย่าง ‘ไม้แดง, ไม้สัก และไม้ประดู่’ ที่โดดเด่นไม่เพียงมูลค่าทางจิตใจและเศรษฐกิจ แต่ยังโดดเด่นในด้านคุณสมบัติที่แสนเหมาะเจาะต่อการนำมาปูพื้น
โดยทั้ง 3 ชนิดเอง นอกจากมีถิ่นฐานกำเนิดในต่างประเทศ ยังมีถิ่นฐานกำเนิดในประเทศไทยตามป่าเบญจพรรณทางธรรมชาติในภูมิภาคต่าง ๆ ถูกใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและวัสดุปูพื้นในประเทศไทยมาอย่างยาวนานนับแต่อดีต เมื่อกล่าวถึงชนิดไม้ที่จะสามารถให้ความรู้สึกและบรรยากาศอย่าง ‘งานไม้ไทยแท้ ๆ’ หรือในลักษณะ ‘งานไม้ไทยคลาสสิก’ ตัวเลือกอันดับแรก ๆ ที่จะผุดขึ้นในใจคนรักไม้หลายคนจึงหนีไม่พ้น ‘ไม้แดง, ไม้สัก หรือ ไม้ประดู่’ นั่นเอง
เปรียบเทียบ 5 คุณสมบัติสำคัญ: แดง, สัก, ประดู่ (?) วัสดุไม้ที่ใช่ เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
1. ลวดลายและสี
สำหรับในด้านของลวดลาย กล่าวได้ว่าด้วยคุณสมบัติของการเป็นไม้จริง ทั้งสามชนิดจึงสามารถให้ลวดลายที่สวยงามของตนได้อย่าง ‘ชัดเจน’ และ ‘เป็นธรรมชาติ’ แตกต่างกับวัสดุไม้เทียมหรือไม้สังเคราะห์ที่แม้ในชนิดคุณภาพสูง ก็ยังไม่อาจลอกเลียนลวดลายให้สวยงามและเป็นธรรมชาติได้เทียบเท่า
ส่วนในด้านของสี มีความแตกต่างกันอย่างโดดเด่น ไม้สักจะให้โทนสีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลทอง ไม้ประดู่ให้โทนสีน้ำตาลเข้มขึ้นมากว่าไม้สักระดับหนึ่ง และไม้แดงให้โทนสีน้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลแดงระเรื่อ ในการเลือกไม้สักชนิดหนึ่ง จึงควรต้องพิจารณาองค์ประกอบของห้องหรือการออกแบบแวดล้อมประกอบ เพื่อให้ได้ภาพรวมโทนสีในทิศทางเดียวกัน
2 .ความทนทานต่อสภาพอากาศและรอยขีดข่วน
สำหรับการพิจารณาความทนทานต่อสภาพอากาศและรอยขีดข่วน จะต้องดูกันที่ ‘ประเภทเนื้อไม้’ ของแต่ละชนิดเป็นหลัก โดยในขณะที่ในวงการไม้ต่างประเทศจะมักแบ่งชนิดของไม้ออกเป็นเพียง 2 ประเภทคือ ไม้เนื้อแข็ง (hardwood) และไม้เนื้ออ่อน (softwood) สำหรับประเทศไทย เรามีการแบ่งให้ละเอียดมากกว่าอีกหนึ่งระดับ ได้แก่
LFURN / RUSTIC TEAK FLOORING (พื้นไม้สัก)
1) ไม้เนื้ออ่อน
มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว จึงมีลักษณะวงปี (annual ring) กว้าง เนื้ออ่อนและนิ่มกว่าไม้ชนิดอื่น จึงทำการดัดแปลง (เลื่อย, ไสกบ, ตกแต่ง, แกะสลัก ฯลฯ) ได้ง่าย ตัวอย่างไม้เนื้ออ่อน ได้แก่ ไม้สัก, ไม้ยาง, ไม่จำปาป่า
2) ไม้เนื้อแข็งปานกลาง
มีอัตราการเจริญเติบโตช้าระดับปานกลาง จึงมีลักษณะวงปี (annual ring) กว้างกว่าไม้เนื้ออ่อนเล็กน้อย เนื้อไม้มีลักษณะแน่นและแข็งแรงกว่าเนื้อไม้อ่อน ตัวอย่างไม้เนื้อแข็งปานกลาง เช่น ไม้ตะเคียน ไม้ชิงชัน ไม้เต็ง ไม้มะม่วง
3) ไม้เนื้อแข็ง
มีอัตราการเจริญเติบโตช้าที่สุดในบรรดาชนิดไม้ จึงมีลักษณะวงปี (annual ring) ถี่ ถือเป็นชนิดไม้ที่มีความแข็งแรงทนทานมากที่สุด ตัวอย่างไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่, ไม้แดง, ไม้มะค่า, ไม้พยุง
LFURN / IRON WOOD FLOORING (พื้นไม้แดง)
ด้วยอัตราความแข็งแรงเป็นพิเศษ หลายท่านมักคิดว่าไม้สักเป็นไม้เนื้อแข็ง แต่ความจริงไม้สักมีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนโดยแท้ แต่แม้จะมีความแข็งแรงมากเพียงใด ด้วยธรรมชาติของการเป็นไม้อ่อน จึงอาจทนทานต่อสภาพอากาศภายนอกได้ไม่เทียบเท่าไม้เนื้อแข็งมากนักและจึงมักเหมาะกับการนำมาก่อสร้าง-ปูพื้นภายในมากกว่า ในขณะที่บรรดาไม้เนื้อแข็ง เช่น ประดู่และแดงจะเหมาะทั้งสำหรับปูพื้นภายในและภายนอก
ส่วนในด้านของความทนทานต่อรอยขีดข่วนหรือการสัญจร แน่นอนว่าเหล่าไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก มักเป็นรอยได้ง่ายกว่า ต่างกับบรรดาไม้เนื้อแข็ง ใครที่ชื่นชอบงานไม้อ่อน เช่น ไม้สัก จึงอาจต้องคอยดูและทะนุถนอมกันเป็นพิเศษ ในการเลือกวัสดุไม้ปูพื้นที่ใช่ จึงอาจต้องพิจารณาการใช้งานหลักของเราประกอบ ดูว่าต้องมีการสัญจรหรือการใช้งานหนักหรือน้อยเพียงใด เป็นต้น
LFURN Tips:
แม้โดยธรรมชาติ ไม้สักจะเป็นไม้เนื้ออ่อนและเป็นรอยได้ง่าย แต่ในการจัดจำหน่ายปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็จะมีการเคลือบปกป้องเนื้อไม้ให้สามารถทนทานต่อการใช้งานได้มากขึ้น โดยผู้เลือกซื้ออาจลองพิจารณาสอบถามหรือปรึกษาผู้จำหน่ายอีกครั้งถึงคุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์
3. ความทนทานต่อปลวก และ แมลง
สำหรับคุณสมบัติด้านความทนทานต่อปลวก/แมลง ต้องบอกว่าโดยธรรมชาติ ไม้ทั้งสามชนิดเองมีคุณสมบัติที่ค่อนข้างจะช่วยทนทานต่อปลวก-แมลงอยู่แล้วครับ โดยในส่วนของ ‘ไม้สัก’ อย่างที่หลายท่านคงอาจรู้กันว่าภายในเนื้อไม้สัก จะมีสารเคมีชนิดหนึ่ง คือ O-cresyl methyl ether ที่ปลวก-แมลงตลอดจนเห็ดราไม่ชอบและจึงไม่เลือกกิน แต่จุดสำคัญก็คือกว่าที่จะไม้สักสักต้นจะสะสมสารเคมีดังกล่าวจนเพียงพอ นั้นโดยทั่วไปจะต้องมีอายุหรือวงปีมากกว่า 10 ปี ไม้สักบางชนิดที่ถูกตัดออกมาก่อนถึงอายุดังกล่าวแท้จริงจึงยังคงกลายเป็น ‘อาหารโปรด’ ของปลวกได้อยู่เสมอ ส่วนไม้แดงและไม้ประดูเองก็ยังคงมีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะถึงแม้จะเป็นชนิดไม้เนื้อแข็ง ที่ปลวกไม่ชอบ (ปลวกจะเลือกกินไม้เนื้ออ่อนก่อน) แต่ถ้าท้ายที่สุด พวกมันไม่พบอาหาร ก็อาจจะต้องมาพยายามกินบรรดาไม้เนื้อแข็งเพื่อประทังชีวิต
LFURN / SOLID PLANTATION TEAK DECKING (พื้นไม้สัก)
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ผู้ผลิตแทบทุกรายก็จะมีการอาบน้ำยากันปลวกให้กับไม้ทุกชนิดและทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเลือกไม้ชนิดใด หรือไม้สักของเราจะเกิน 10 ปีหรือไม่ หากได้รับการแปรรูปมาอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน ก็สามารถหมดห่วง หมดกังวลในจุดนี้ได้เลยครับ
4. เปรียบเทียบราคาต่อตารางเมต
สำหรับในด้านราคา เมื่อลองทำการเปรียบเทียบจากฐานข้อมูลของ LFURN เบื้องต้นพบว่าไม้แดงจะมีอัตราราคาต่อตารางเมตรเริ่มต้นต่ำสุด (฿2,500) บาท ตามด้วยไม้สักปลูก (฿3,200) และไม้ประดู่ (฿4,600) อย่างไรก็ดี ในกรณีของไม้สัก หากเป็นประเภทไม้สักทองและไม้สักสวนป่า (ไม้สักที่ไม่ใช่ประเภทปลูก) ที่ในปัจจุบันค่อนข้างหายาก ราคาจะสูงกว่าไม้แทบทุกชนิด
LFURN Tips:
ไม้สักปลูก (plantation teak) คือบรรดาไม้สักที่ไม่ได้เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติ แต่ถูกปลูกเพื่อนำมาแปรูปและจำหน่ายโดยเฉพาะ ถือเป็นกลวิธีการผลิตไม้สักแท้ประเภทหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรับมือกับอัตราไม้สักสวนป่าที่ลดน้อยลง ตลอดจนปัญหาการลักลอบตัดไม้และทำลายป่า ไม้สักปลูกส่วนใหญ่จึงถือว่ายังคงเป็น ‘ไม้สักแท้’ เกรดคุณภาพ เทียบเท่าไม้สักส่วนป่าทุกประการ แต่มีราคาที่ต่ำกว่าเพราะสามารถปลูกจำหน่ายได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง
กล่าวได้ว่าไม้จริงทั้งสามชนิดมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมในการเป็นวัสดุไม้ปูพื้นอย่างคล้ายคลึงกัน ยกเว้นเพียงความแตกต่างชบางประการ เช่น ลวดลาย, สี, ความเหมาะสมในการใช้ปูภายนอกหรือภายใน ตลอดจนราคาที่แต่ละท่านอาจต้องมาพิจารณากันเพิ่มเติมอย่างละเอียด โดยสำหรับท่านใดที่มีข้อสงสัยหรืออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมใดเกี่ยวกับไม้จริงชนิดใด สามารถติดต่อโดยตรงกับทีมงานของ LFURN ได้ทาง ได้เลยทาแฟนเพจ
ของเรา หรือทางLINE @LFURN